การใช้งาน Steper Motor Driver TB6560

--

Date: 22/12/2023

รูปที่ 1 การต่อวงจร

ที่มาที่ไป

ประเด็นคือ ทำเองลืมเอง ครับ คือตอนทำเสร็จ เราก็คิดว่ามันง่ายๆ เอง ไม่ต้องเขียนเอาไว้หรอก แต่พอต้องกลับมาทำอีกรอบ งงสิครับว่าต้องทำยังไง แถมยังมีปัญหาจุกจิกที่หลายๆ คนไม่ได้บอกไว้อีกมากมาย มันก็เลยเป็นที่มาของบทความนี้นั่นเองครับ

ตัวขับสเต็ปมอเตอร์

หรือ Stepper Motor Driver รุ่นที่ใช้ในตัวอย่างนี้คือ TB6560 โดยมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับภาพด้านล่างเลยครับ จุดเด่นของตัวนี้ก็คือขับกระแสได้สูงสุด 3 แอมป์ และปรับไมโครสเต็ปได้ 4 ระดับ (ตัวนี้แหละปัญหาเลย)

TB6560 Stepper Moter Driver

สังเกตุดูนะครับว่าบนบอร์ดจะมี switch อยู่ 9 ตัว สีดำ 3 ตัว และสีขาว 6 ตัว (DIP Switch) สีดำเอาไว้ปรับกระแสนะครับ ถ้า ON ทั้ง 3 ตัวก็คือจ่ายกระแสสูงสุด 3 แอมป์ ส่วน DIP Switch อีก 6 ตัว นี่แหละครับปัญหา

ตัวสำคัญคือ micro step table ครับ

ถ้าเกิดรันแล้วมอเตอร์เสียงดัง หรือสั่งแรงมาก ให้ลองปรับ micro step ดูทั้ง 4 ค่า มันจะมีบางตัวที่ทำให้มอเตอร์หายสั่นและเสียงเบาลงได้

หรือบางทีอาจเกิดจากปัญญากระแสที่ส่งไปขับมอเตอร์ไม่พอก็ได้ ให้เราลองเพิ่มกระแสดูนะครับ หรือจะลองปรับกระแสเป็นค่าสูงสุดเอาไว้ก่อนเลยก็ได้

โค้ดโปรแกรมอาร์ดูโน่

โค้ดนี้อ้างอิงการต่อวงจรตามรูปที่ 1 นะครับ หากต่อวงจรและตั้งค่า switch ถูกต้อง มอเตอร์จะหมุนกลับไปกลับมาเป็นช่วงๆ

สาย A+, A-, B+, B- ของ Stepper Motor หายังไง

ง่ายมากครับ นั่นก็คือใช้ meter วัดดู ถ้าสายไหนมันเป็นคู่กัน ความต้านทานมันก็จะเป็นศูนย์ หรือถ้าเราวัดแบบ short circuite มันก็จะมีเสียงเตือน ดังนั้นพอวัดเสร็จแล้วเราก็จะรู้ว่าสายไหนที่เป็นคู่กัน

ปัญหาต่อมาคือ แล้วสายไหนเป็นบวกเป็นลบ วิธีการง่ายสุดๆ เลยก็คือ “เดา” ครับ นั่นก็คือเดาเลยครับว่าสายไหนเป็นบวก เป็นลบ แล้วต่อเข้าไปในบอร์ดเลย ถ้ามอเตอร์มันหมุนได้ถูกต้องก็แสดงว่าเราต่อถูก แต่ถ้ามอเตอร์มันหมุนแปลกๆ ก็ค่อยลองมาสลับสายดูทีละคู่

--

--

No responses yet