การสร้าง Reference สำหรับงานวิจัย

Kritthanit Malathong
2 min readDec 3, 2022

--

Date: 03/12/2022

หนึ่งในเรื่องที่น่าปวดหัวมากที่สุดในการเขียนงานวิจัย (สำหรับผม) ก็คือการเขียน Reference หรือก็คือ “อ้างอิง”

เหตุผลที่การเขียนอ้างอิงมันน่าปวดหัวก็เพราะว่า

  1. การตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารแต่ละอันใช้ format ไม่เหมือนกัน
  2. การอ้างอิงเอกสารแต่ละประเภท เช่น หนังสือ บทความ งานวิจัย ใช้รูปแบบไม่เหมือนกัน
  3. การเขียนอ้างอิง (แบบถูกต้องจริง) มีรายละเอียด (ที่ผมคิดว่าไม่ใช่สาระสำคัญ) เยอะมาก เช่น การใช้ คอมม่า ( , ) การใช้เครื่องหมายคำพูด ( “….” ) การใช้จุด ( . ) ตัวอย่างเช่น ในบางวารสาร การเขียนชื่องานวิจัยในอ้างอิง จะต้องใส่ เครื่องหมายคำพูดคร่อมชื่องานวิจัยเอาไว้ และต้องใส่จุดปิดท้าย แบบนี้
    …… , “Research title example.” , ……
    สังเกตุดูว่าจะต้องใส่จุดปิดท้ายก่อน เครื่องหมายปิดคำพูด ถ้าใส่ข้างนอกแบบนี้จะถือว่าเขียนผิด
    …… , “Research title example”. , …… ≤== แบบนี้ถือว่าผิด
  4. การเขียนอ้างอิงใช้ข้อมูลไม่เท่ากัน เช่น ในบางวารสารใช้แค่ชื่อคนเขียน ชื่องานวิจัย ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ และปีที่ตีพิมพ์ แต่ในบางวารสาร หมายเลขหน้า ต้องใส่รหัส doi เพิ่มเข้าไปด้วย ทำให้ข้อมูลที่เราเก็บเอาไว้ไม่เพียงพอ ก็ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลเหล่านั้นเพิ่มเติม

ดังนั้นการเขียนอ้างอิงในงานวิจัยสำหรับผมจึงเป็นเรื่องที่วุ่นวายและน่าปวดหัวมาก (ไม่รู้เพื่อนๆ จะเป็นเหมือนกันกับผมรึเปล่า) หลังจากค้นหาข้อมูลอยู่สักพัก ผมก็พบว่าในระดับสากลเขามีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ RIS และ BibTex ฟอร์แมต ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือไฟล์ text ธรรมดานั่นแหละครับ แต่เก็บข้อมูลของงานวิจัยนั้นๆ เอาไว้ เวลาที่เราจะเขียนอ้างอิง มันก็จะมีวิธีดึงข้อมูลเหล่านั้นออกมาเป็น “อ้างอิง” ในรูปแบบที่เราต้องการเลย

RIS ฟอร์แมต

เป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยสำหรับอ้างอิง ซึ่งมีฟอร์แมตประมาณนี้ (แต่ว่าผมจะไม่ใช้ฟอร์แมตนี้นะ เพราะว่าเมื่อมองดูด้วยตามนุษย์แล้วมันดูเข้าใจยากกว่าอีกแบบครับ)

TY  - JOUR
AU - Luo, Yu
AU - Chu, Qing-Xin
AU - Bornemann, Jens
PY - 2017/02/20
SP -
T1 - Enhancing Cross-Polarization Discrimination or Axial Ratio Beamwidth of Diagonally Dual or Circularly Polarized Base Station Antennas by Using Vertical Parasitic Elements
VL - 11
DO - 10.1049/iet-map.2016.0928
JO - IET Microwaves, Antennas & Propagation
ER -

BibTeX ฟอร์แมต

ฟอร์แมตนี้เป็นฟอร์แมตที่ผมเลือกใช้นะครับ เพราะว่าดูแล้วเข้าใจง่ายกว่า (แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีผลแตกต่างกันแต่อย่างใดนะ) ตัวอย่างฟอร์แมตก็จะประมาณนี้ครับ

@article{article,
author = {Luo, Yu and Chu, Qing-Xin and Bornemann, Jens},
year = {2017},
month = {02},
pages = {},
title = {Enhancing Cross-Polarization Discrimination or Axial Ratio Beamwidth of Diagonally Dual or Circularly Polarized Base Station Antennas by Using Vertical Parasitic Elements},
volume = {11},
journal = {IET Microwaves, Antennas & Propagation},
doi = {10.1049/iet-map.2016.0928}
}

ปัญหาต่อไปคือ แล้วเราจะเอา BibTex Format นี้ไปสร้างเป็น “อ้างอิง” ได้อย่างไร

การสร้าง “อ้างอิง” จาก BibTeX

วิธีที่ 1 สร้าง “อ้างอิง” จาก BibTeX โดยตรง

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนงานวิจัยโดยใช้ Text Editor ทั่วไป เช่น MS Word การสร้างอ้างอิงวิธีนี้ทำได้โดยใช้เครื่องมือ Convert BibTeX ต่างๆ ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างการแปลง BibTeX เป็นอ้างอิงโดยใช้เว็บ BibTeX Online Converter

วิธีที่ 2 สร้างผ่าน LaTeX

LaTeX คือโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อเอาไว้เขียนเปเปอร์ (งานวิจัย) โดยเฉพาะเลยครับ ซึ่งวิธีการเขียนจะคล้ายๆ กับการเขียนโปรแกรมนิดหน่อย ผสมกับการเขียน text file ทั่วไป แล้วโปรแกรม LaTeX จะแปลงให้อยู่ในรูปแบบเปเปอร์ที่เราต้องการโดยอัตโนมัติ (โดยปกติงาน conference แต่ละงานจะมี template latex ให้ดาวน์โหลดเอามาใช้อยู่แล้ว)

ตัวอย่างการเขียนเปเปอร์โดยใช้ภาษา LaTeX

ซึ่งก่อนจะเขียนได้ เราก็ต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับเขียน LaTeX ก่อน ซึ่งผมจะกล่าวถึงในบททความต่อไปครับ

--

--

No responses yet